แหล่งความรู้สำหรับผู้ที่สนใจ

Upskill/Reskill สาย Tech

Cloud & Network | Cybersecurity | Programming
Lifelong Learning | Career Development

Career Development

แนวทางการรับมือปัญหาขาดแคลนแรงงานสาย Tech จากทั่วโลก

ความขาดแคลนของแรงงานด้าน Tech นั้นยังคงเป็นปัญหาของตลาดแรงงานทั่วโลก เนื่องจากก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดทำให้ตำแหน่งงานด้าน Tech นั้นขยายตัวมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อหันกลับไปมองที่มาของทรัพยากรเช่นมหาวิทยาลัย ก็อาจจะไม่สามารถจะผลิตคนที่ตรงต่อความต้องการในปริมาณที่เพียงพอได้ทัน หรือความรู้ที่เรียนมาก็อาจจะล้าหลังหรือยังจะไม่เพียงพอต่อการเริ่มต้นการทำงานจริง ลองเทียบดูจำนวนปีที่นักศึกษาเข้าเรียนตลอดหลักสูตรต้องใช้เวลาถึง 4 ปีนั้นย่อมมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากมาย อาจมีความเสี่ยงว่าตำแหน่งงานที่เคยมีอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไป หรืออาจจะเพิ่มโอกาสในการทำงานเพราะมีตำแหน่งงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็ได้ อย่างเช่น ในปี 2019 เราอาจจะยังไม่พูดถึงเรื่อง AI กันหลากหลายมากนัก ตัดภาพกลับมาที่ปัจจุบันในปี 2023 หากใครยังไม่คุ้นเคยกับ ChatGPT เลย ก็ดูจะคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องเสียแล้ว แบบนี้เป็นต้น

ที่จริงหลายภาคส่วนก็ได้มีความพยายามแก้ไขปัญหานี้ให้กับภาคธุรกิจ จะขอยกยกตัวอย่างการ Reskill กลุ่มแรงงานที่อยู่ในช่วง mid-career และ non-ICT ที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟังสักเล็กน้อยนะครับ

การ Reskill กลุ่มแรงงานที่อยู่ในช่วง mid-career และ non-ICT

บทความของ McKinsey (2022) ได้กล่าวถึงการ reskill กลุ่มแรงงานที่อยู่ในช่วงอายุ 45 ปี ขึ้นไปหรือ mid-career โดยมีองค์กรหนึ่งในอเมริกาชื่อว่า Generation เขาได้ทำวิจัยโดยการ Survey ทั่วโลก แล้วก็พบว่าปัญหาด้านมุมมองของฝ่ายนายจ้างทั่วโลกมักจะมีทัศนคติที่ไม่เป็นเชิงบวกต่อกลุ่มแรงงานกลุ่มนี้ เช่น อายุมากแล้วจะปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีได้ไหม? จะพัฒนาได้ยากหรือเปล่า? จะเข้ากับเพื่อนร่วมงานที่อายุน้อยกว่าได้หรือไม่? แต่ในขณะเดียวกัน งานวิจัยนี้ก็ได้ให้ข้อมูลอีกด้านด้วยว่า ในกลุ่มพนักงานที่มีอายุมากแล้ว กลับมี performance ในการทำงานเทียบเท่าหรือดีกว่าพนักงานที่อายุน้อยกว่า

Generation ที่สิงค์โปร์ร่วมมือกับรัฐและองค์กรต่าง ๆ จึงได้ทำการจัดโครงการอบรม Microsoft ให้กับคนที่ว่างงานอยู่มากกว่าหนึ่งพันคน โดย 40% ของคนที่เข้าร่วมโครงการนั้นเป็นกลุ่ม mid-career ที่มีประสบการณ์ด้าน Tech น้อยหรือไม่มีเลย โดยฝึกงานระดับเริ่มต้นหรือ entry-level เพื่อการทำงานในตำแหน่ง could support, DevOps, BI & Data analytics, full-stack development โดยคาดว่า หลังจากจบโครงการนี้ไปแล้ว จะสามารถผลิตแรงงานเพื่อเข้าทำงานในสายงานเหล่านั้นได้ถึง 500 คน ซึ่งผมเห็นว่าได้ประโยชน์ทั้งการช่วยให้คนที่ยังมีศักยภาพได้มีงานทำ และยังช่วยเหลือสังคมในการลดอัตราการว่างงานอีกด้วย

ลองนึกภาพ หากประเทศไทยเรามีอะไรแบบนี้บ้าง ก็คงจะดีนะครับ อย่างน้อยก็คงจะช่วยลดอัตราการว่างงานลงได้ และหากมีคนเก่ง ๆ มาก ๆ ก็คงจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของประเทศได้อีกด้วย หรือสำหรับในองค์กร หากพิจารณาดูแล้วในอนาคตมีแนวโน้มที่งานของบางแผนกอาจจะต้องหายไปทั้งหมด แต่ที่จริงแล้วพนักงานเหล่านั้นก็อาจจะมีศักยภาพในการปรับตัว การ reskill พนักงานมาทำงานสาย Tech ก็น่าจะเป็นทางออกหนึ่งที่คงจะทำได้ และน่าสนใจเหมือนกัน เพราะจากประสบการณ์ที่เห็นมา ผมรู้สึกว่าคนที่มีความสามารถนั้นหายากก็จริง แต่ก็อาจจะหาได้ง่ายกว่าคนที่มีความรักและเข้าใจใน culture ขององค์กรเสียอีก หากเป็นไปได้ เราก็คงอยากเก็บรักษาคนเหล่านั้นไว้เพื่อพัฒนาองค์กรของเราให้ต่อเนื่องและยั่งยืนมากกว่าครับ

อ้างอิง

Martins, Â., Silva, E., Azevedo, I., & Bettencourt, N. (2020). SWitCH: A Reskilling Program in Information Technology. 2020 IEEE Global Engineering Education Conference (EDUCON)

https://www.mckinsey.com/about-us/new-at-mckinsey-blog/reskilling-older-workers-for-new-careers-in-tech

https://www.generation.org/


ผมมีความเชื่อว่าคนเรามีศักยภาพในตัวเองและพัฒนาได้เสมอหากพร้อมเปิดใจที่จะเปลี่ยนแปลง และหวังว่าบทความที่แชร์นี้จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านที่กำลังมองหาเส้นทางในการ upskill/reskill

#Sakol #CCIE (29493) #SolutionsArchitect (AWS-Professional, Azure-Expert) #CISSP (1035526) #TUXSAMBA (Business Innovation) #PhDStudent (Cybersecurity)

Connect me on LinkedIn