แหล่งความรู้สำหรับผู้ที่สนใจ

Upskill/Reskill สาย Tech

Cloud & Network | Cybersecurity | Programming
Lifelong Learning | Career Development

Lifelong Learning

[Mini Review] รายวิชา Data Governance & Data Architecture ที่ ม.มหิดล

Google Bard บอกว่า มีข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นในโลก Internet มากกว่าสามร้อยล้าน terabytes ในทุกๆวัน ส่วนข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานในองค์กรนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทธุรกิจ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีการสร้างข้อมูลในระดับ terabytes ไปจนถึง petabytes เช่นกัน และเพราะข้อมูลคือสิ่งสำคัญสำหรับโลกธุรกิจในปัจจุบัน เราจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องให้ความสนใจในการบริหารจัดการข้อมูลขององค์กรให้มีความพร้อมสำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ แต่การจัดการข้อมูลเหล่านี้ หากไม่ได้มีการกำกับดูแลที่ดี ก็จะส่งผลให้ข้อมูลนั้นไม่ได้ถูกนำไปใช้สร้างประโยชน์ให้แก่องค์กรมากเท่าที่ควรจะเป็น และอาจส่งผลให้โอกาสการแข่งขันทางธุรกิจลดลงไปได้

อยากรู้ว่า เราจะเริ่มต้นในการกำกับดูแล (Governance) และบริหารจัดการ (Management) ข้อมูลอย่างไร ลองไปเข้าเรียนวิชา Data Governance and Data Architecture กับ ม.มหิดลกันได้ครับ

มหิดลเปิดรับบุคคลภายนอกเข้าเรียนรายวิชา Data Governance and Data Architecture โดยใช้เวลาเรียนทั้งหมด 15 สัปดาห์ กับอาจารย์ผู้สอนผู้เปี่ยมไปด้วยความรู้และประสบการณ์ โดยในการเข้าเรียนนั้น เราจะได้นั่งเรียนไปพร้อมกับนักศึกษาปริญญาโทหลักสูตร ITM ได้ทำการบ้านส่งและเข้าสอบเหมือนนักศึกษาคนอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถเก็บผลการเรียนไว้เพื่อเทียบหน่วยกิตกับการเรียนหลักสูตร ป.โท ITM หากสนใจสมัครเข้าเรียนในอนาคตได้ด้วย

และเนื่องจากเพิ่งจะเปิดเทอมและเรียนมาเพียงสองสัปดาห์ เลยขออนุญาตยังไม่รีวิวในแนวให้ความรู้ (เนื่องจากก็ยังไม่มีความรู้ 555) ยังไงหากเรียนครบทั้ง 15 สัปดาห์แล้ว จะลองสรุปความรู้ที่ได้รับในมุมของคน upskill มาแชร์อีกครั้งนะครับ

วันนี้ขอมาแชร์ประสบการณ์เล็กๆน้อยๆก่อน เผื่อคนสนใจจะลงเรียนในรอบหน้า จะบอกว่าเรียนสนุกมากครับ สำหรับผมที่ทำงานสาย infra มาตลอด ก็เริ่มได้เห็นภาพและเข้าใจถึงหลักการบริหาร data ได้เข้าใจถึงความสำคัญในแต่ละ component และค่อนข้างจะชอบการเล่าเรื่องในการเชื่อมโยง Data Quality ไปยัง component ต่างๆของอาจารย์ผู้สอน ที่ทำให้เราได้เห็นว่า หากองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งตั้งแต่การออกแบบสถาปัตยกรรมมาจนถึง Metadata ไม่ได้ถูกบริหารจัดการให้ดีพอ ก็จะส่งผลต่อ Data Quality ในทางใดทางหนึ่งในท้ายที่สุด

อ้อ อีกเรื่องที่ต้อง mention ถึงคือ การเรียนส่วนใหญ่เป็น onsite นะครับ ทุกวันเสาร์ เวลา 9:00 - 12:00 (เทอมหน้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงนะครับ) โดยเรียนที่มหิดล ศาลายา แต่จะมีสลับเรียนแบบ online บ้าง ขึ้นอยู่กับว่าวันที่เรียนนั้นอาจจะไปชนกับวันงานกิจกรรมของมหาวิทยาลัยหรือมีวันหยุดยาวหรือเปล่า สำหรับใครที่ไม่ชินกับการเรียนแบบ onsite ไปแล้ว ผมก็ยังแนะนำอยู่ดี เพราะการเปลี่ยนบรรยากาศมาเรียนใน classroom บ้าง ก็จะช่วยให้เรา active มากขึ้น และมีส่วนร่วมกับ class มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประสบการณ์การเรียนรู้อีกรูปแบบที่ช่วยให้เราจดจำสิ่งที่ได้เรียนรู้ได้ดีอีกทางหนึ่งครับ

สำหรับผู้ที่สนใจ เทอมนี้ปิดรับสมัครไปแล้วครับ หากใครสนใจอาจจะต้องรอเทอมหน้าหรือปีหน้า ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนจะตามหน่วยกิตประมาณ 9,600 บาท หากสนใจยังไงก็ลองสอบถามไปที่คณะ หรือเข้าไปดูที่ Facebook หรือที่ เว็บไซต์ กันได้นะครับ ผมเข้าใจว่ายังมี course ระยะสั้นอื่นๆ ที่น่าสนใจอีก ก็สามารถเลือกเรียนกันได้เลยตามความสะดวกและสนใจครับผม


ผมมีความเชื่อว่าคนเรามีศักยภาพในตัวเองและพัฒนาได้เสมอหากพร้อมเปิดใจที่จะเปลี่ยนแปลง และหวังว่าบทความที่แชร์นี้จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านที่กำลังมองหาเส้นทางในการ upskill/reskill

#Sakol #CCIE (29493) #SolutionsArchitect (AWS-Professional, Azure-Expert) #CISSP (1035526) #TUXSAMBA (Business Innovation) #PhDStudent (Cybersecurity)

Connect me on LinkedIn