แหล่งความรู้สำหรับผู้ที่สนใจ

Upskill/Reskill สาย Tech

Cloud & Network | Cybersecurity | Programming
Lifelong Learning | Career Development

Cloud

แนะนำแนวทางการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสู่การทำงานด้าน Cloud (AWS, Azure, GCP)

สายงานด้าน Cloud เป็นหนึ่งในสายงานที่ค่อนข้างเป็นที่ต้องการในปัจจุบัน โดย Cloud Service Provider (CSP) ก็มีหลายค่าย แต่ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันในบ้านเราก็คงจะเป็น AWS และ Microsoft Azure ตามมาด้วย GCP ซึ่งคนที่จะทำงานกับค่ายไหน ก็จำเป็นจะต้องมีการเรียนรู้และมีความคุ้นเคยในแต่ละค่ายนะครับ ซึ่งคนทำงานก็จะได้เก็บประสบการณ์ไปตามสิ่งที่ตัวเองได้ hands on และพัฒนาก้าวหน้าไปในระดับที่สูงกว่าเดิมได้

ใครที่สนใจงานด้าน Cloud แต่ยังไม่รู้จะเริ่มศึกษายังไงอาจจะลองดูการออกแบบการทดสอบเพื่อวัดความรู้หรือ Certification ของแต่ละค่ายเป็นองค์ประกอบได้ครับ ทั้งนี้ผมขอบอกกล่าวมุมมองในด้านการสอบวัดความรู้เหล่านี้ก่อนว่า การเรียนหรือสอบผ่าน ไม่ได้แปลว่าเรามีประสบการณ์หรือทำงานนั้นได้ดีแล้ว แต่อย่างน้อยก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแสดงถึงความเข้าใจของเราเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ และความมุ่งมั่นพยายามที่จะศึกษาในเรื่องดังกล่าว ซึ่งการได้รับการรับรองไม่ว่าด้านใดก็ตาม ก็จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มโอกาสที่เราจะได้งานในสายงานที่เราต้องการ ได้ฝึกหัด ได้มีโอกาสหาประสบการณ์ หรือช่วยพาเราไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นได้

การวัดระดับความรู้ของแต่ละค่ายนั้นอาจใช้ชื่อแต่ละระดับต่างกันไป โดยผมขอแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือระดับพื้นฐาน (Fundamental) ระดับเริ่มต้น (Associate) และระดับเชี่ยวชาญ โดยระดับเชี่ยวชาญ (Expert | Professional) ของแต่ละค่ายก็จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป บางค่ายก็เรียก Expert บางค่ายก็เรียก Professional ซึ่งถ้าหากเรามาแบ่งกันตามรูปแบบขององค์ความรู้ของ Certification เราก็จะสามารถแบ่งออกมาได้ 2 กลุ่มคือ รู้แนวกว้าง กับรู้เฉพาะทาง รู้แนวกว้างส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวก cloud engineer, cloud solution architect และ cloud admin แต่ถ้าเป็นเฉพาะทางก็จะเป็นพวก specialist แต่ละเรื่องไปเลย เช่น network, security, DevOps หรือทางฝั่ง data เป็นต้น

Certification กลุ่มความรู้แนวกว้าง

Certification กลุ่มความรู้เฉพาะทาง (Specialist)

ใน Blog นี้ ผมจะขอพูดถึงแค่ในมุมแนวกว้างก่อน สำหรับคนที่ต้องการค้นหาตัวตนก่อนว่าเราสนใจจะทำงานในด้านนี้หรือไม่นะครับ

ระดับพื้นฐาน (Fundamental)
สำหรับระดับพื้นฐาน คุณจะถูกคาดหวังว่าต้องมีความรู้อย่างน้อยก็คือเกี่ยวกับพื้นฐาน service ของแต่ละ CSP (Cloud Service Provider) ประมาณเรื่องว่าถ้าพูดถึงชื่อ service มาก็ควรจะต้องรู้ว่า service นั้นให้บริการอะไร หรือถ้าได้รับ requirement มาเบื้องต้นก็ควรจะพอรู้ว่าเราต้องใช้ service ไหน เรียกว่าพอมีความเข้าใจ แต่อาจจะยังออกแบบ solution ในระดับซับซ้อนไม่ได้ ซึ่งความรู้ในระดับนี้เพียงพอต่อการทำงานในตำแหน่งที่ต้องพูดคุย requirement เบื้องต้น เช่น ทีม sales ในองค์กรที่ให้บริการด้าน Service Integration (SI) ที่ขายหรือให้บริการด้าน Cloud ก็ควรจะมีความรู้ในระดับนี้เพื่อที่จะสามารถคุย requirement กับทางลูกค้า และสามารถนำมาถ่ายทอดต่อให้กับทางทีม engineer ได้

ระดับเริ่มต้น (Associate)
สำหรับระดับเริ่มต้น แน่นอนว่าคุณจะถูกคาดหวังว่าต้องมีความรู้มากกว่าระดับพื้นฐาน คือนอกจากรู้ว่า service ไหนทำอะไรได้บ้าง เหมาะกับ requirement แบบไหนบ้าง ก็จะต้องมีความสามารถในการกำหนดค่าของ service ต่างๆ บน Cloud และสามารถจัดการและดูแล service นั้น ๆ ได้เบื้องต้นด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็น Junior Cloud Engineer คุณควรจะต้องสามารถ enable service ได้ตามที่มีการออกแบบ เช่น ในการจัดการ IaaS service ก็ควรจะต้องสร้าง subnet สร้าง VM หรือทำการ backup หรือ monitor รวมถึงการ integrate IaaS เข้ากับพวก PaaS เช่น Web App หรือ Database เป็นต้น

โดยหัวข้อเรื่องที่ common กันทั้ง 3 ค่ายที่จำเป็นต้องรู้ในระดับเริ่มต้น มีดังต่อไปนี้
    • Regions and Availability Zone (AZ) Management
    • Identity & Access Management (IAM)
    • Network (Virtual Private Cloud / Virtual Network) Management
    • Compute (Virtual Machine / Kubernetes / Serverless) Management
    • Storage and Database Management
    • High Availability and Scalability Management
    • Security Management
    • Cloud Resources Monitoring
    • Cost Optimization

ระดับเชี่ยวชาญ (Expert | Professional)
สำหรับระดับเชี่ยวชาญ คุณจะถูกคาดหวังว่าต้องมีความรู้ในระดับที่จะต้องรองรับต่อ requirement ที่ซับซ้อนมากขึ้น อาจเป็นลูกค้าในระดับ enterprise ซึ่งจะมีการใช้งาน service ที่หลากหลาย หรือในบางครั้งอาจมีการใช้งานในลักษณะ Multi Cloud และมีการนำเอา 3rd party services อื่นๆเข้ามาร่วมเพื่อตอบโจทย์ของความต้องการด้วย เนื่องจาก native service บน Cloud อาจจะไม่ตอบโจทย์ เช่น load balancer หรือ backup ของค่ายเจ้าตลาด หรือ SDWAN ที่ลูกค้าได้มีการใช้งานอยู่และยังต้องการใช้ feature พวกนี้ต่อบน Cloud

ดังนั้น หากคุณอยู่ในระดับ Senior Cloud Engineer คุณจะต้องสามารถ integrate service เหล่านั้นให้ใช้งานได้ โดยการทำงานจะเป็นลักษณะของการทำงานร่วมกับทีมงานของ service อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ในระดับเชี่ยวชาญนี้ นอกเหนือจากรู้เรื่องของ Cloud service ของแต่ละ CSP แล้ว ยังต้องมีความสามารถในการเรียนรู้และทำความเข้าใจ 3rd party services ด้วย เพื่อที่จะให้สามารถกำหนดค่าให้สามารถทำงานร่วมกันได้

นอกจากในมุมของ technical skill แล้ว ในมุมของ soft skill ก็จำเป็นเช่นกัน เพราะในลักษณะของเนื้องานที่เป็นระดับ enterprise จะต้องทำงานร่วมกับหลายๆทีมงาน ดังนั้นต้องมีความสามารถในการสื่อสาร ติดต่อประสานงาน และมีความสามารถในการทำงานเป็นทีม เพื่อที่จะร่วมมือกับทีมงานต่างๆเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ โดยประสบการณ์ที่ผ่านมาเหล่า CSP หรือ 3rd party product vendor ที่เข้ามา support ในโครงการ scale ระดับนี้ ก็จะเป็นพวก SME (Subject Matter Expert) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ดังนั้นอีกทักษะหนึ่งที่จำเป็นก็คือด้านภาษา เพราะคุณจะต้องสามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

หากใครสนใจจะเริ่มต้นกับ Cloud ผมได้ลองค้นหาดูและนำมาแบ่งปันแหล่งความรู้สำหรับการเตรียมตัวสอบ Certification ในระดับพื้นฐานของแต่ละค่ายให้ตามด้านล่างนะครับ สามารถเรียนได้เลยโดยไม่มีค่าใช้จ่ายครับ

AWS Cloud Practitioner Essentials

GCP Cloud Digital Leader

Microsoft Azure Fundamentals


ผมมีความเชื่อว่าคนเรามีศักยภาพในตัวเองและพัฒนาได้เสมอหากพร้อมเปิดใจที่จะเปลี่ยนแปลง และหวังว่าบทความที่แชร์นี้จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจและเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านที่กำลังมองหาเส้นทางในการ upskill/reskill

#Sakol #CCIE (29493) #SolutionsArchitect (AWS-Professional, Azure-Expert) #CISSP (1035526) #TUXSAMBA (Business Innovation) #PhDStudent (Cybersecurity)

Connect me on LinkedIn